Page 32 - WipassnaCheewid
P. 32
๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน (Contemplation of
Mind) นั่งนานๆ ไม่มีเวทนา แต่บางครั้งจิตเกิดความฟุ้งซ่าน ท่านให้น าจิต
จากหน้าท้องไปสัมผัสที่หัวใจแล้วภาวนาในใจว่า “ฟุ้งซ่าน - ห น อ ”
ภาวนาตลอดจนกว่าจิตจะหายฟุ้งซ่าน
จิตฟุ้งซ่าน เรารู้
จิตก าลังฟุ้งซ่าน เรารู้
จิตสงบไม่มีฟุ้งซ่านแล้ว เรารู้
เช่นนี้ เรามีสติรู้จิตในจิต ซึ่งตรงกับภาษาบาลีว่า
“จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน” (จิตคิดอะไรให้ก าหนดอย่างนั้นว่าคิดหนอๆ
จนความคิดหยุด) เมื่อจิตหายฟุ้งซ่านแล้วให้จิตไปสัมผัสที่หน้าท้องแล้วภาวนา
“พอง - หนอ” “ยุบ - หนอ” ต่อไปใหม่
๔. ธรรมนุปัสสนาสติปัฏฐาน (Contemplation of
Mind-objects) นั่งนานบางทีไม่มีเวทนาและไม่มีความฟุ้งซ่านแต่เกิด
ธรรมารมณ์ เช่น
ตาเห็น รูป เกิด รูปารมณ์
หูได้ยิน เสียง เกิด สัททารมณ์
จมูกได้ กลิ่น เกิด คันธารมณ์
ลิ้นลิ้ม รส เกิด รสารมณ์
กาย สัมผัส เกิด โผฏฐัพพารมณ์
ใจกระทบ ธรรม เกิด ธรรมารมณ์
ให้น าจิตไปสัมผัสตามอาการ แล้วภาวนาตามอาการที่เกิดขึ้น เช่น
ตาเห็นรูปนิมิต (ขณะนั่งหลับตาก็เห็นรูปนิมิตภายในได้ จัดเป็นรูปารมณ์)
๑๘ วิปัสสนาชีวิต