Page 8 - WipassnaCheewid
P. 8

ตัวอย่างเช่น ในการภาวนา “พองหนอ - ยุบหนอ” ผู้ปฏิบัติจะต้องก าหนดรู้

          และมีความรู้สึกที่อาการพอง และอาการยุบของท้องเพียงอย่างเดียว โดยไม่

          เผลอสติ ต้องมีความรู้ที่ชัดเจนเหมือนกับการนั่งดูทีวี หรือนั่งมองดูนกบินใน
          ท้องฟ้าหรือมองดูคนป่วยหายใจระรัวๆ อยู่บนเตียงพยาบาลให้เห็นภาพชัดเจน

          คือเห็นอาการที่ท้องพอง ท้องยุบ อย่างแน่ชัดเสียก่อน อย่าไปใส่ใจกับสภาวะ

          อารมณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นภายในจิตหรือที่มากระทบจากภายนอก
                 ถ้าหากผู้ปฏิบัติไปใส่ใจก าหนดตามสภาวะที่กระทบหรือสิ่งที่มา

          กระทบและสิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิต อารมณ์กรรมฐานของเราก็จะรั่วและไหลไป

          ตามสภาวะเล็กๆ น้อยๆ นั้น ท าให้ไม่เกิดสมาธิที่ตั้งมั่น ไม่มีพลังของสติที่จะไป
          ก าหนด  ท าให้ผู้ปฏิบัติเกิดความท้อแท้เหนื่อยหน่ายต่อการปฏิบัติ ทั้งนี้เป็น

          เพราะผู้ปฏิบัติไม่เข้าใจชัดเจนในองค์ภาวนาหรือฐานที่จิตไปก าหนดดู จึงท าให้

          หลายต่อหลายคนไม่สามารถปฏิบัติได้ และเบื่อหน่ายต่อการปฏิบัติ และบอก
          ว่าไม่ได้อะไรเลย บางครั้งก็กล่าวว่า ตนเองไม่มีบุญ หรือมีบุญน้อย นี้คือความ

          เข้าใจผิดของผู้ปฏิบัติ หากท่านใดอยากปฏิบัติกรรมฐานไม่ว่าจะเป็นสมถกรรม

          ฐานหรือวิปัสสนากรรมฐาน ก็ต้องอาศัยฐานที่ตั้งเป็นจุดยืนให้ได้เสียก่อน
          ดังนั้นไม่ว่าจะภาวนาแบบไหน จะต้องท าเช่นนี้เสมอ จิตจึงจะเกิดสมาธิ เมื่อ

          สมาธิตั้งมั่น มีจุดยืนและรู้ฐานของการปฏิบัติดีแล้วเราก็จะสามารถก าหนด

          พิจารณาไปตามสภาวะได้อย่างง่ายดาย  เปรียบเหมือนลมพัดต้นอ้อ  และพอ
          ลมหยุดพัด ต้นอ้อก็ตั้งตรงขึ้นมา ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อพลังสมาธิมั่นคงแล้ว

          สภาวะที่มากระทบจากภายนอกและภายใน จิตก็ไม่หวั่นไหวสามารถก าหนด

          พิจารณาได้   รู้เท่าทันได้   ต่อสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้น   และเมื่อเราก าหนด
          ตามฐานต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบายแล้ว เวลามีอารมณ์ที่เกิดขึ้นมากระทบ

          สภาวธรรมและฌานก็เกิดขึ้นได้ง่ายในระยะเวลาอันสั้น เหมือนกับท่าน
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13