Page 6 - WipassnaCheewid
P. 6

กรรมฐานทั้ง ๒ อย่างนี้ต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

          ในการพิจารณาสภาวธรรมต่าง ๆ ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานขั้นสูงต้อง

          อาศัยสมถกรรมฐานเป็นพื้นฐาน เป็นพลังในการเจริญปัญญา


                 การปฏิบัติเพื่อให้สมาธิตั้งมั่นได้เร็วและง่ายมีดังนี้

                 ๑. ต้องมีองค์ภาวนา เช่น พองหนอ - ยุบหนอ พุทโธ หรือ

          สัมมาอะระหัง เป็นต้นเสียก่อน ตัวอย่างเช่น การภาวนา “พุทโธ”

                 ขั้นแรก  สติของเราต้องอยู่ที่ค าว่า “พุทโธ” โดยเอาสติมาจับอยู่ที่
          ปลายจมูก ให้รู้ตรงที่ลมกระทบ เวลาหายใจเข้าและหายใจออกอย่างชัดเจน

          และละเอียด

                 ขั้นที่สอง  คือการตามลมเข้า ตามลมออกโดยการภาวนา “พุท”
          เวลาหายใจเข้า และ “โธ” เวลาหายใจออก ให้เอาจิตไปจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจ

          เข้าออกตลอดเวลา  โดยไม่ใส่ใจกับสิ่งที่มากระทบจากภายนอกหรือภายใน

          จิตจึงจะเป็นสมาธิได้เร็ว ต่อจากนั้นไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม ถ้ามุ่งไปทาง
          ฌานหรือฌานสมาบัติ ก็ให้ภาวนา “พุทโธ” อย่างต่อเนื่องตลอดไป พร้อม

          ก าหนดจิตสงสู่สภาวธรรมที่ก าลังเกิด ที่ก าลังเห็นในขณะนั้น ขณะที่จิตดิ่งลงสู่

          องค์ฌานก็มีสติรู้ และปล่อยลงไปตามองค์ฌาน เพื่อให้เป็นไปตามธรรมชาติ
          ของพลังอ านาจสมาธิจนกว่าจะไม่มีความรู้สึกทางกายว่าร่างกายเรามีอยู่ เรา

          จะเห็นแต่ดวงจิตเป็นอย่างเดียว ไม่มีอารมณ์อื่นแทรก นี้เรียกว่า “องค์ฌาน”


                 ๒. วิธีการยกจิตขึ้นสู่องค์ฌาน  ให้ผู้ปฏิบัติก าหนดรู้เสมอว่า
          ขณะนี้เราก าลังท าอะไรอยู่ (กล่าวคืออยู่ในสมาธิ) เพื่อไม่ให้จิตสัดส่ายออกไป

          ข้างนอก ถ้าจิตสัดส่ายออกไปข้างนอกเมื่อใด ให้ก าหนดภาวนาอย่างมีสติ โดย
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11