Page 7 - WipassnaCheewid
P. 7
ค่อยๆ ดึงจิตมาดูที่ฐานของจิต คือที่หัวใจ เรียกว่า “หทัยวัตถุ” แล้วก าหนด
องค์บริกรรมต่อไปว่า “พุทโธ พุทโธ” หรือค าบริกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งอย่าง
รวดเร็วและถี่โดยไม่เว้น ไม่ให้มีช่องว่าง เพื่อป้องกันไม่ให้มีความคิดอื่นมา
แทรก และขณะที่ผู้ปฏิบัติก าลังจะออกจากองค์ฌานใดองค์ฌานหนึ่ง
เมื่อก าหนดได้แล้ว ให้ก าหนดจิตจดจ าสภาวะของขณะจิตนั้นว่าอยู่ใน
สภาวะอาการใด แล้วจึงค่อยๆ ผ่อนลมหายใจยาวออกมาเบาๆ พร้อมกับถอย
จิตออกจากองค์ฌานนั้นๆ และให้จ าสภาวะนั้นให้ได้ กล่าวคือ เมื่อผู้ปฏิบัติจะ
เข้าสู่สมาธิในบัลลังก์ต่อไป ให้ก าหนดลมหายใจยาวๆ ทั้งเข้าและออก พร้อม
กับน้อมจิตเข้าสู่องค์ฌานที่ก าหนดออกมาในครั้งก่อนนี้เรียกว่า การต่อองค์
ฌานหรือต่อสภาวฌาน
๓. การยกจิตขึ้นสู่สภาวฌานหรือฌาน ผู้ปฏิบัติจะต้อง
อาศัยพื้นฐานของสมถะเป็นก าลัง เพื่อน าไปพิจารณาสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นใน
ปัจจุบันขณะนั้นให้ได้อย่างต่อเนื่อง แจ่มแจ้ง ชัดเจน หากสมาธิอ่อน ผู้ปฏิบัติ
จะไม่สามารถอดทนต่อสภาวะของเวทนาได้ การพิจารณาสภาวธรรมที่เกิดขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นทุกขเวทนาหรือสุขเวทนาจะต้องอาศัยสมาธิที่ตั้งมั่นเป็นองค์ฌาน
มาเป็นก าลังอย่างมาก นอกจากนี้ในการเข้าไปพิจารณาอาการต่างๆ ที่เกิด
ขึ้นกับฐานต่างๆ ที่กระทบ ที่บีบคั้นทั้งสภาวะภายนอกและภายใน จะต้อง
อาศัยองค์ฌานเป็นพื้นฐาน เป็นก าลังของจิต เพื่อเข้าไปพิจารณาสภาวธรรม
ทั้งหลายทั้งปวงในขณะนั้นๆ
๔. การภาวนาที่จะท าให้เกิดสมาธิอย่างรวดเร็ว และ
มีสภาวะที่ชัดเจนแจ่มแจ้ง ผู้ปฏิบัติจะต้องมีสมาธิที่ตั้งมั่น แน่วแน่เป็น
“เอกัคคตารมณ์” (เป็นอารมณ์เดียว) ไม่หวั่นไหวต่อสภาวะเล็กๆ น้อยๆ