Page 104 - ThammaThuanKrasae
P. 104

ฌานและนิวรณ์
       เหตุให้สติบริสุทธิ์เพราะได้หยุดสัญญาเจตนาคือ ความนึกคิดที่จงใจเป็น

       ตัวจิตให้เกิดความส าคัญมั่นหมาย ยึดมั่นในอารมณ์ต่างๆ ทั้งกุศล และ

       อกุศล  จิตก็บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว (ความรู้สึกอันเบาบางจากการวางอุเบกขา

       เวทนา ในเครื่องบังคับช่อง) ไปทั่วกายนี้ แลด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว



              อุปมาเปรียบความเบาบางของเวทนานี้ว่าไม่มีทุกข์ไม่มีสุข และ

       เพราะดับสัญญาเจตนาได้ ก็ละสุขและทุกข์ ดับความส าคัญมั่นหมายของ

       โสมนัสและโทมนัสได้ จึงเปรียบอุเบกขาเวทนานี้เหมือนบุรุษนั่งคลุมตัว

       ตลอดศีรษะ ด้วยผ้าขาวไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกส่วนที่ผ้าขาวจะไม่

       ถูกต้อง


              ผู้ปฏิบัติที่บรรลุถึงอุเบกขาเวทนา ในจตุตถฌาน กายจะสงบนิ่งไม่

       เคลื่อนไหว มือที่วางซ้อนกันจะติดแน่น ลมอัสสาสะ ปัสสาสะที่หายใจ

       ทางปอดก็จะสงบระงับ  ท่านจึงอุปมาว่าผู้เข้าถึงจตุตถฌานจะไม่มีลม

       หายใจเข้าออกเหมือนกับเด็กอยู่ในครรภ์มารดา  ซึ่งไม่ได้ใช้ลมหายใจเข้า

       ออก



              สติจะระลึกอยู่กับเวทนา  ซึ่งเกิดจากลมปราณในโพรงอากาศ

       (เครื่องบังคับช่อง) ซึ่งมีเวทนาปรากฏอยู่อย่างเบาบาง ด้วยอ านาจของ

       อุเบกขาเวทนา จึงท าให้จิตบริสุทธิ์ผ่องแผ้วเป็นเอกัคคตารมณ์ ด้วย

       อ านาจของสติบริสุทธิ์ และก่อนจะออกจากฌานทุกๆ ฌานที่ผ่านมา

       ตั้งแต่รูปฌานที่ ๑ ถึงรูปฌานที่ ๔ ผู้ปฏิบัติอย่าได้รีบออกจากฌาน





        ๘๐
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109