Page 92 - ThammaThuanKrasae
P. 92

ฌานและนิวรณ์
              ๕.  เอกัคคตา  หมายถึงการที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ซึ่งเป็นผล

       จากความหมดจดแห่งปฏิปทาแห่งปฐมฌาน ซึ่งมีลักษณะ ๑๐ ประการ

       ท าให้จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง



              ประเภทแห่งฌาน

              ตามนัยแห่งพระไตรปิฎก  ได้จ าแนกประเภทแห่งฌานไว้ ๔

       ประเภทเรียกว่า จตุกนัย (ส่วนอภิธรรมแบ่งไว้ ๕ ประเภท   เรียกว่า

       ปัญจกนัย)

              ปฐมฌาน  มีองค์ ๕  คือ  วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

              ทุติยฌาน  มีองค์ ๓  คือ  ปีติ สุข เอกัคคตา

              ตติยฌาน  มีองค์ ๒  คือ  สุข เอกัคคตา

              จตุตถฌาน  มีองค์ ๒ คือ  อุเบกขา เอกัคคตา


              ผู้ปฏิบัติเมื่อก าหนดได้ปฐมฌาน (รูปฌานที่ ๑)  ถ้าจะก าหนด

       ทุติยฌาน (รูปฌานที่ ๒) จะต้องท าวสีเพื่ออบรมจิตให้อยู่ในอ านาจ  และ

       มีความคล่องแคล่วช านาญ  มีความเชี่ยวชาญในการก าหนดเข้าฌาน

       ออกฌาน  ซึ่งมี ๕ อย่างคือ

              ๑.  อาวัชนวสี ได้แก่  ความช านาญในการก าหนดอารมณ์ฌาน

       ได้โดยเร็ว

              ๒.  สมาปัชนาวสี ได้แก่  ความช านาญในการเข้าสู่อารมณ์ฌาน










        ๖๘
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97