Page 130 - ThammaThuanKrasae
P. 130

กัมมัฏฐาน

              กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน  คือ การตั้งสติก าหนดพิจารณากาย

       ให้เห็นให้รู้ไปตามความเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงกายไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัว

       เรา เขา ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงจ าแนกวิธีปฏิบัติไว้ ๖ อย่าง คือ

              ๑.  อานาปานสติ คือ การก าหนดลมหายใจ คือไปในที่สงัดอาจ

       เป็นป่าโคนไม้เรือนว่าง หรือที่สงบวิเวก จากนั้นจึงนั่ง ขัดสมาธิตั้งกายให้

       ตรงด ารงสติไว้เฉพาะหน้า ตั้งสติก าหนดลมหายใจเข้าออก โดยอาการ

       ต่างๆ คือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาวก็

       รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น เมื่อ

       หายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น

              ๒.  อริยาบท คือ ก าหนดรู้อริยาบท เมื่อยืน เดิน นั่ง นอน หรือ

       ร่างกายอยู่ในอาการอย่างไรก็รู้ชัดในอาการที่เป็นอยู่นั้น

              ๓.  สัมปชัญญะ คือ สร้างสัมปชัญญะ (ความเป็นผู้พร้อม)

              ๔.  ปฏิกูลมนสิการ คือ การพิจารณาร่างกายของตนตั้งแต่

       ศีรษะจรดปลายเท้า ว่าเต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ อันได้แก่

       ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ

       พังผืด ไต ปอด ไส้น้อย ไส้ใหญ่ อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ าดี น้ าเสลด

       น้ าเหลือง น้ าเลือด น้ าเหงื่อ มันข้น น้ าตา มันเหลว น้ าลาย น้ ามูก ไขข้อ

       น้ ามูตร

              ๕.  ธาตุมนสิการ คือ พิจารณาร่างกายของตน โดยให้เห็นการ

       แยกออกธาตุดิน ธาตุน้ า ธาตุลม







       ๑๐๖
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135