Page 121 - ThammaThuanKrasae
P. 121

กัมมัฏฐาน

            จะใส่น้ าลงในภาชนะใดก็ได้ที่เห็นว่าควร แต่ต้องใส่น้ าให้พอดีกับขอบของ

            ภาชนะนั้นๆ เสมอ อย่าให้บกพร่อง ตั้งไว้ในที่สงัดหรือที่ลับแม้ที่สุดใน

            วิหาร พึงตั้งเตียง ๔ นิ้ว กระท าพิธีทั้งปวงเหมือนกับพิธีปฐวีกสิณที่กล่าว

            มาแล้ว  ครั้นแล้วพึงนั่งเหนือเตียงห่างกสิณมา ๒ คืบนิ้ว การพิจารณา

            อาโปกสิณนั้น  อย่าพิจารณาแยกสีหรือแยกลักษณะน้ าไหลซึมซาบให้

            พิจารณาน้ ากับสีเข้าด้วยกัน  เป็นอันเดียวกันในการเพ่งด้วยตา แล้วตั้ง

            จิตไว้ในบัญญัติธรรมว่าสิ่งนี้คือ อาโปธาตุ แล้วพึงบริกรรมว่า อาโป อาโป

            น้ า น้ า บริกรรมเรื่อยไปจนเกิดเป็น อุคคหนิมิตคือนิมิตอาโปกสิณนี้

            ปรากฏดุจไหวๆ กระเพื่อมๆ อยู่ ถ้าน้ าประกอบด้วย กสิณโทษ คือ เจือ

            ด้วยปูมเปลือก และฟองนั้นปรากฏในอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตคือ

            ปรากฏดวงกสิณใส สะอาด บริสุทธิ์ตลอดจนขยายปฏิภาคนิมิตนั้นใหญ่

            หรือย่อให้เล็กลงได้ตามความปรารถนา ปราศจาก กสิณโทษดุจพัดใบ

            ลานแก้วมณีประดิษฐานไว้ในอากาศ หรือประดุจดังดวงแว่นแก้วอัน

            บริสุทธิ์ เมื่อปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นแล้วผู้เจริญอาโปกสิณก็กระท าปฏิภาค

            นิมิตนั้นเป็นอารมณ์เจริญต่อไปว่า อาโป อาโป ก็จะถึงจตุตถฌาน

            และปัญจมนฌาน

            เหมือนดังได้อธิบายมาแล้วในปฐวีกสิณ อาโปกสิณมีอธิบายเพียงเท่านี้แลฯ



                    ๓.  เตโชกสิน

                    บุคคลผู้มีศรัทธา  ปรารถนาเจริญเตโชกสิณนั้น  พิจารณาเอา

            นิมิตในเปลวไฟเป็นอารมณ์  ถ้าเคยเป็นผู้มีบารมี   ได้เคยเจริญเตโชกสิณ





                                                                            ๙๗
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126