Page 90 - ThammaThuanKrasae
P. 90
ฌานและนิวรณ์
หมายถึงธรรมที่เกิดขึ้นจากความเพียร คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ไม่ล่วงเกินกันและศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ก็มีกิจอันเดียวกัน
๓.๔ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ หมายถึงความยินดี
ติดในรส ติดในอารมณ์ของปฐมฌาน
ผู้ที่จะปฏิบัติให้จิตเข้าสู่ปฐมฌาน จะต้องประกอบด้วยจิตมีความ
งาม ๓ ประการ คือ งามเบื้องต้น งามท่ามกลาง งามเป็นที่สุด ถึงพร้อม
ด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร
ปีติ สุข การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วย
ปัญญาใน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ก็ต้องถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ๑๐ ประการเช่นเดียวกัน ให้ดูรายละเอียดในการ อนาปานกถา
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑
เคล็ดอุบายในการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ในการท ารูปฌานที่ ๑
วิธีก าหนด ผู้ปฏิบัตินั่งคู้บัลลังก์ หลับตา งับปาก ด ารงสติตรง
หน้าที่เครื่องบังคับช่อง ก าหนดแสงสว่าง (อโลกสัญญา) ใช้สติระลึกนึกถึง
อารมณ์อัปปนาสมาธิที่หน่วงขึ้นมา ที่โพรงอากาศที่หน้าผาก พร้อมทั้ง
ก าหนดลมหายใจออกสั้นเข้าสั้น ให้เกิดปฏิกิริยาเป็นความรู้สึก
“สัมปชัญญะ” ให้ความรู้สึกของลมหายใจเข้า ซึ่งเป็นอากาศอยู่ในช่อง
โพรงอากาศหมุนเวียนเบาๆ ช้าๆ ไปทางขวามือจะเกิดสมถนิมิตแล่นสู่จิต
๖๖