Page 102 - ThammaThuanKrasae
P. 102
ฌานและนิวรณ์
อุปมาเหมือนกับบุรุษที่เดินทางไกล เมื่อได้ดื่มน้ าอิ่มกายแล้ว ก็
อาบน้ าช าระร่างกายให้เย็นสบายกาย และก็หาที่ร่ม นอนเสวยความเย็น
สบาย คือการได้ความส าราญทางใจ เรียกว่า ได้เสวยสุขเวทนา
จตุตถฌาน (รูปฌานที่ ๔)
จตุตถฌาน (รูปฌานที่ ๔) องค์ฌานจะเหลืออุเบกขา เวทนาและ
เอกัคคตาท าอย่างไรจึงจะวางอุเบกขาเวทนาได้
จากพระสูตรมหาอัสสปุรสูตรว่าด้วยฌาน ๔ หน้า ๔๑๔ ข้อ ๔๗๔
พระไตรปิฎกเล่ม ๑๒ พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มี
ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัส ในก่อนได้มี
อุเบกขา เหตุให้สติบริสุทธิ์ เธอนั้นแผ่ไปทั่วกายนี้แลด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่อง
แผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่จิตอันบริสุทธิ์ผ่อง
แผ้วจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนบุรุษนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้องฉะนั้นฯ”
ในพระสูตรนี้มีค าที่ต้องท าความเข้าใจและเพิ่มเติมคือ
ค าว่า ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข หมายถึงการดับสิ่งที่ปรุงแต่งสุขเวทนาใน
รูปฌานที่ ๓ เพราะว่าดับสุขได้ มันก็ไม่มีทุกข์นั่นเอง
๗๘