Page 37 - ThammaThuanKrasae
P. 37
ปริศนาธรรมที่อยู่ในยันต์
จะเข้าสู่โลกุตตระ คือ ท่านให้เน้นยันต์แบบนี้เป็นปริศนาลายแทงธรรม
คล้ายรูปศีรษะ เป็นการบอกสีที่แฝงเอาไว้ว่า จิตหรือหทัยวัตถุนั้น
ท าหน้าที่อยู่ในสมอง
ส่วนปริศนาในยันต์พุทธคุณนาม ๑๐ อักขระยันต์นั้น ท่านถอด
มาจากพุทธคุณ ๕๖ โดยจัดย่อให้ย่อให้เหลือ ๑๐ ตัว (ถ้าเป็นแบบ
นวหรคุณก็จะย่อเหลือ ๙ ตัว)
ส่วนบนอักขระล้อมรูปองค์พระ ๓ ตัว ส่วนพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวจะ
อยู่บนเศียรขององค์พระแล้วต่อด้วยสูรย์อาทิตย์ และโอมเป็นรูปปฏิโลม
เวียนมาทางขวา ส่วนอนุโลมจะเวียนมาทางซ้าย ปริศนาในลายแทงนี้
จะบอกถึงแนวทางปฏิบัติที่เกิดพุทธคุณ ๑๐ (หรือพุทธคุณ ๕๖) จะต้อง
ปฏิบัติตามแนวทางของบทพุทธคุณ คือ แนวทางการตรัสรู้ของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือสมาธิ ฌาน อรูปฌาน วิปัสสนาญาณที่
ประกอบกับอานาปานสติ
รูปองค์พระ หมายถึง ผู้ปฏิบัติจะต้องได้อารมณ์ถึงฌาน ๔ คือ
จตุตถฌาณแล้วต้องปฏิบัติอรูปฌาน ๔ ต่อได้ลงเครื่องหมายพระจันทร์
ครึ่งเสี้ยว แล้วต่อด้วยสูรย์ หมายถึง “มรรคญาณ” ส่วน “โอม” หมายถึง
โลกุตตระ การหมดกิเลส อันเป็นธรรมะทวนกระแส ส่วนอักขระ
มะ อะ อุ อิ มะ อุ อะ นั้น หมายถึง หัวใจของพระไตรปิฎกทั้งหมด คือ
รู้หัวใจในการปฏิบัติที่ท าให้หมดกิเลส โดยตีความหมายของรูป
๑๓