พึงรักษาจิตไว้ อย่าไปหลงบุญ อย่าไปหลงบาป ทำบุญแล้วเข้าใจว่าบุญนั้นเกิดประโยชน์ ความสุขเกิดขึ้น ความสุขเกิดขึ้น แต่บุญนี้แหละจะเป็นพลังงานผลักดันให้เราทำความดีได้สำเร็จ ทำความดีให้สำเร็จ นั้นคือ ภาวะแห่งบุญ อันเป็นนามธรรมและรูปธรรม ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เรามาบำเพ็ญภาวนา จงมีสติ มีสติและปัญญาเห็นสภาวะการเกิดดับของรูปนาม รูปนามเกิดขึ้นยังไง รูปนามเกิดขึ้นยังไง รูป คือ ร่างกาย นาม คือ สิ่งสมมุติ เสียงได้ยินที่พูดอยู่นี้เป็นรูป เสียงเป็นรูป แต่ใจ ที่หูที่ได้ยินเสียงนี้เป็นนาม ฉะนั้น ท่านจึงว่า นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณที่ ๑ ปัญญาหรือสติปัญญาเห็นรูปนามแยกออกจากกัน รูปนามมันแยกออกจากกันยังไง เวลาเราเดิน เวลาเรานั่ง เวลาเรายืน เอาเรานั่ง พองหนอ ยุบหนอ พุทโธๆๆ ร่างกายเราหนักลงๆปวดขึ้นๆ หรือเมื่อยหรือง่วง ในสภาวะอาการที่ปวดขึ้นตอนไหน และกายเราหนักไหม กายเราเบาไหม ถ้าเราเห็นว่าขณะที่ปวด กายมันหนัก ขณะที่ปวด กายมันเบา ปวดกับหนักเป็นอันเดียวกันหรือคนละอัน ให้เรามีสติเห็น ถ้าเราใส่ใจใส่นิดหน่อย รู้เลยว่า เออ...มันคนละอาการ คนละอย่าง ปวด ก็คือ ปวด ปวด ก็คือ ปวด สิ่งที่เบา ก็คือ เบา สิ่งที่หนัก ก็คือ หนัก สิ่งที่หนัก คือ ธาตุดิน สิ่งที่เบา คือ ธาตุลม สิ่งที่ปวด คือ เวทนา เวทนาเกิดขึ้นเพราะมีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ มันทับถมกันไป ถามว่าเมื่อมันเกิดทับถม มันจะหนักอย่างนี้ตลอดไปไหม ไม่ เวลาเรานั่งไป เท้าซ้ายอยู่ข้างล่าง เท้าขวาอยู่ข้างบน บางคนโยคีบางท่านนั่งสมาธิไป เท้าข้างล่างปวด บางคนเท้าข้างล่างไม่ปวด ปวดเท้าข้างบนที่ทับอยู่ เพราะอะไร เพราะมันไม่เป็นเช่นที่เราคิด มันไม่เป็นดั่งที่เราคิด โอวาทธรรม พระครูปทุมภาวนาจารย์ วิ. (หลวงพ่อวีระนนท์ วีระนนฺโท) จากธรรมบรรยายในโครงการพัฒนาจิตเพื่อพ่อ ครั้งที่ ๕๗/๖ วันที่ ๖ มี.ค. ๒๕๕๗ สนใจดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=z0VbRQuad88 ที่มาของภาพ: ธรรมะสัญจร ประเทศอินเดีย